งานสำรวจทางอากาศ
การสำรวจรังวัดด้วยภาพถ่ายนั้นสามารถนอกจากจะนำมาใช้ในงานด้านแผนที่ได้เป็นอย่างดี ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานด้านวิศวกรรมโยธาและด้านอื่นๆ ได้อย่างกว้างขวาง โดยในปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการถ่ายภาพมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับเทคโนโลยี การรังวัดด้วยระบบดาวเทียมนำหนพีภพ (Global Navigation Satellite System: GNSS) เหล่านี้ส่งผลให้มีการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและประมวลผลข้อมูลภาพถ่ายที่รวดเร็วและผลผลิตที่ทันกับความต้องการที่จะใช้งาน รวมถึงการมีแหล่งข้อมูลแผนที่ภาพถ่ายและแบบจำลองสามมิติต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น
ประเภทของการรังวัดด้วยภาพถ่าย
การนำภาพถ่ายจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในงานรังวัดด้วยภาพถ่ายได้ทำให้เกิดเทคนิคการรังวัดด้วยภาพถ่ายในแบบต่างๆ แตกแขนงแยกย่อยออกเป็นประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การรังวัดบนภาพถ่ายทางอากาศ (Aerial Photogrammetry)
การรังวัดบนภาพถ่ายทางอากาศเป็นการใช้ภาพถ่ายทางอากาศมาดำเนินการรังวัดเพื่อให้ได้ตำแหน่งและความหมายของสิ่งต่างๆ
2. การังวัดด้วยภาพถ่ายจากดาวเทียม (Satellite Photogrammetry)
การรังวัดด้วยภาพถ่ายจากดาวเทียมเป็นการใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมแบบออฟติคัล (Optical) มาใช้ในการรังวัดเพื่อให้ลักษณะภูมิประเทศผ่านการวิเคราะห์ภาพคู่ซ้อน (Stereo-image Analysis)
3. การรังวัดด้วยภาพถ่ายแบบเรดาร์ (Radargrammetry)
การรังวัดด้วยภาพถ่ายแบบเรดาร์เป็นการใช้ข้อมูลภาพถ่ายแบบเรดาร์ (Radio Detection And Ranging: RADAR) มาใช้วิเคราะห์ลักษณะภูมิประเทศผ่านการสร้างแบบจำลองสามมิติ (Stereo Model) ซึ่งจะเป็นการวิเคราะห์ภาพคู่ซ้อน (Stereo-image Analysis) เช่นเดียวกับการสำรวจด้วยภาพถ่าย (Photogrammetry)
4. การรังวัดด้วยภาพถ่ายภาคพื้นดิน (Terrestrial Photogrammetry)
การรังวัดด้วยภาพถ่ายภาพภาคพื้นดินเป็นการใช้ภาพถ่ายภาพพื้นดินเข้ามาใช้ในการวัดขนาดหรือตำแหน่งใดๆ (X,Y,Z) บนวัตถุ ซึ่งถ้าหากระยะในการถ่ายภาพใกล้กว่า 300 เมตรจะถูกเรียกว่า การรังวัดด้วยภาพถ่ายระยะใกล้ (Close Range Photogrammetry : CRP)
5. การสำรวจรังวัดด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle : UAV)
การสำรวจรังวัดด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับเป็นการใช้ภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle : UAV) หรือที่นิยามเรียกว่า โดรน (Drone) เข้ามาใช้ในการวัดขนาดหรือตำแหน่งใดๆ (X,Y,Z)บนวัตถุรวมถึงใช้ในกระบวนการทำแผนที่ ซึ่งถือเป็นการผสมผสานแนวคิดของการรังวัดด้วยภาพถ่ายทางอากาศ และการรังวัดด้วยภาพถ่ายระยะใกล้ เข้ามาใช้ในการรังวัด
6.การรังวัดด้วยภาพมาโคร (Macro Photogrammetry)
การรังวัดด้วยภาพมาโครเป็นรังวัดบนภาพที่มีระยะใกล้กว่า 10 เซนติเมตร ซึ่งประยุกต์ใช้กับวัตถุเล็ก นิยมใช้ในงานทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และอุตสาหกรรม