top of page
signature.png

บริการรองรับ

การใช้ระบบลายเซ็นดิจิทัล (Digital signature) 

และระบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic signature)

บริการรองรับ การใช้ระบบลายเซ็นดิจิทัล (Digital signature) 

 และระบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic signature)

               ปัจจุบันมีการทำธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัลแบบต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือระบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์และระบบลายเซ็นดิจิทัล

               ทาง RANGWAD เล็งเห็นถึงระบบที่เราได้คำนึงถึงเพราะมีความปลอดภัยโดยทำการเข้ารหัสลายเซ็นเพื่อความถูกต้องและความน่าเชื่อถือต่อการทำธุรกรรมเพื่อตอบสนองต่อความรวดเร็วและสะดวกต่อการทำธุรกิจเพิ่มมากขึ้น โดยทางเราจึงได้นำระบบนี้เข้ามาเพื่อรองรับ สำหรับลูกค้าที่มีรับรองอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 28 โดยมีการดำเนินการตามขั้นตอนกฏหมายว่าด้วยการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ระบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic signature)

ระบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นไปตามมาตรา 9 แห่งกฏหมายว่าด้วยการทำธุกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรต่าง ๆ ผ่านระบบที่มีความน่าเชื่อถือ

โดยทั่วไปลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถระบุความเป็นตัวตนของเจ้าของลายเซ็นได้ รวมถึงใช้วิธีการที่น่าเชื่อถือโดยคำนึงถึงความมั่นคง ความรัดกุมในการในการใช้ลายเซ็น ไปจนถึงลักษณะ ประเภทของการทำธุรกรรม

ระบบลายเซ็นดิจิทัล (Digital signature) 

               ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จากการเข้ารหัสอิเล็กทรอนิกส์เช่น ลายเซ็นดิจิทัลที่อาศัยโครงสร้างพื้นฐานของกุญแจสาธารณะ (PKI : Public Key Infrastructure) ซึ่งเป็นไปตามกำหนดของมาตรา 26 และมาตรา 28 แห่งกฏหมายว่าด้วยการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

               ซึ่งลักษณะลายเซ็นดิจิทัลตามนิยามตามตัวกฏหมายได้คร่าว ๆ คือ ลายเซ็นนั้นสามารถเชื่อมโยงกับเจ้าของลายเซ็นนั้นได้ รวมถึงอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าของลายมือ และสามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงได้

               ทาง RANGWAD ของเรามีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกให้โดยผู้ให้บริการตาม มาตรา 26 , 28 ทำให้ช่วยป้องกันการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้อง และทางลูกค้าสามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเอกสารได้ด้วยตนเอง ที่                                         โดย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (ETDA)

               ลูกค้า สามารถ DOWNLOAD เอกสารเพื่อศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กฏหมายว่าด้วยการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้ที่  

พรบ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 

พรบ.สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2562 

bottom of page